ประเภทเครื่องปั๊มลม Air compressor

Air compressor เครื่องปั๊มลม ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานหลากหลายเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกตามธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งความสะดวกสบายและยังเพิ่มประสิทธิภาพกับงาน อุปกรณ์เสริมมาพร้อมการใช้งานที่หลากหลายอาทิ ปืนลม ปืนเป่าลม เครื่องยิงตะปูลม สว่านลม ไขควงลม ปากกาลมเป็นต้น จึงทำให้เครื่องปั๊มลมเกิดประโยชน์มากมาย จากที่เมื่อก่อนเราจะเห็นว่าเครื่องปั๊มลมเป็นเครื่องมือที่ใช้สูบเติมลมยางเท่านั้น โดยส่วนมากเราจะเห็นเครื่องปั๊มลมอยู่ตามอู่ซ่อมรถ

ทุกวันนี้เราเห็นเครื่องปั๊มลมอยู่ตามสถานที่ต่างๆหรือบางบ้านใช้งานเครื่องขนาดเล็กเพื่อใช้งานภายในบ้าน หากต้องการใช้งานที่มีความดันแรงสูง แรงลม แรงอัด แรงดันที่ค่อนข้างมาก พร้อมกันนั้นตามคาร์แคร์ยังนำไปใช้ได้กับ งานล้างรถ พ่นสีรถ พ่นสีโมเดล งานตกแต่งภายใน งานไม้ เฟอร์นิเจอร์ และงานอื่นๆอีกมากมายการจะให้งานที่ทำนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรเลือกซื้อ ใช้ให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภทก่อนอื่นราจะต้องรู้ก่อนว่างานที่เราจะทำนั้นต้องการแรงดัน แรงอัด ของแรงลงมากน้อยแค่ไหน แล้วจึงเลือกซื้อตามคุณสมบัติที่ต้อการ เครื่องปั๊มลมที่วางขายอยู่ในตลาดมีเยอะแยะมากมาย หลายรุ่น หลายยี่ห้อนับเป็นทางเลือกสำหรับผู้ซื้อ

ประเภทของปั๊มลม สามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้

  1. Piston Air Compressor ปั๊มลมประเภทลูกสูบ
  2. Screw Air Compressor ปั๊มลมประเภทสกรู
  3. Sliding Vane Rotary Air Compressor ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน
  4. Roots Air Compressor ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน
  5. Diaphragm Air Compressor ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม
  6. Redial and axial flow Air Compressor ปั๊มลมประเภทกังหัน

โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องปั๊มลม ที่นิยมใช้มากที่สุดและพบเห็นได้ตามทั่วไปคือ ปั๊มลมประเภทสกรู และ ปั๊มลมประเภทลูกสูบ ซึ่งจะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป เน้นไปทางการใช้งานแบบปั๊มอุตสาหกรรม ส่วนปั๊มลมลูกสูบ จะเป็นการใช้งานแบบร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ ซ่อมจักรยานยนต์ทั่วไป เป็นต้น

การติดตั้งปั๊มลม

ก่อนอื่นให้คุณทำการตรวจสอบสภาพของปั๊มให้อยู่ในสภาพที่ปกติ เรียบร้อย ไม่มีการชำรุด ควรทำการติดตั้งปั๊มลมให้อยู่ในบริเวณสถานที่มีอากาศสะดวก ถ่ายเท ไม่อับ ไม่ควรมีฝุ่นละอองมาก และที่สำคัญไม่อยู่ในที่มีความชื้น ตั้งไว้ห่างจากระยะกำแพง ประมาณ 12-15 เซนติเมตร เพื่อที่จะได้สะดวกในการประกอบดูแล และถอดเครื่องเคลื่อนย้าย ควรตรวจสอบมอเตอร์ไฟฟ้าให้มีขนาดที่สมดุลกับตัวหัวปั๊มลม คอยสังเกตทิศทางการหมุนของปั๊มลมให้ดีและถูกต้อง โดยให้มีลักษณะหมุนตามลูกศรที่แสดงอยู่ ถ้ามอเตอร์หมุนผิดทิศทางให้ทำการแก้ไขโดยการสลับสายไฟให้กลับมาอยู่ในที่เดิมและทิศทางที่ถูกต้อง